วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

งานที่ 4 ความรู้ที่ได้รับจากชั่วโมงเรียน 25 มิย. 56


ภาษา คือ ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อสารกัน

ลักษณะของภาษาไทย

1.  เป็นคำโดด
2. สะกดตรงตามมาตรา 8 มาตรา ใช้ตัวอักษรตามพยัญชนะ เช่น แม่กก - นก งก จก , แม่กง - งง ผง
3. มีเสียงวรรณยุกต์
4. คำ ๑ คำ มีความหมายได้หลายหน้าที่เป็นทั้งนาม,สรรพนาม,สันธาน เช่น  ขันเป็นคำนามที่ แปลว่า ภาชนะใช้ตักน้ำ ไก่ขันเป็นกริยา แปลว่า เสียงร้องของไก่
5. เรียงประโยค  แบบ S +V +O ประธาน+กริยา+กรรม 
เช่น ฉันกินข้าว 
*แต่ภาษาลีจะเรียงหรือกรรมอยู่หน้าแล้วประธานอยู่หลัง จึงทำให้คนไม่ค่อยเรียนภาษาบาลีเพราะยุ่งยาก
 
6.  มีลักษณะนาม เป็นคำที่ใช้บอกตามหลังลักษณะของสิ่งของ เช่น ลงเรียน 1 วิชา , สมุด 1 เล่ม
7.  มักไม่ใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต (  ์ ตัวการันต์)  เพื่อห้ามเสียงของคำ
8. มีวรรคตอน ถ้าแบ่งวรรคตอนผิด ความหมายของประโยคนั้นจะเปลี่ยนแปลงได้
 9.มีเรื่องของระดับภาษา มีอยู่ 5 ระดับ คือ

         -  ระดับพิธีการ - มีคำเฉพาะ
         -  ระดับทางการ - ใช้ในราบการ ระเบียบแบบแผน
         -  ระดับกึ่งทางการ - มีวิธีการบ้าง กันเองบ้าง แล้วแต่ความเหมาะสม
         -  ระดับสนทนา - ใช้พูดคุยกันทั่วไปกับคนที่ไม่สนิท
         -  ระดับกันเอง - พูดคุยกับคนที่คุ้นเคยกัน

และอื่นๆ นอกจากนี้คือ คำราชาศัพท์
- คำในภาษาไทยเกิดจาก คือ เสียงพยัญชนะ+สระ+วรรณยุกต์
- พยัญชนะไทยมี 44 รูป 21 เสียง

เสียงพยัญชนะไทย (๒๑เสียง)
รูปพยัญชนะไทย (๔๔ รูป)
๑.   
๒.   
            
๓.   
๔.   
๕.   
      
๖.   
         
๗.   
ด  ฎ
๘.   
ต  ฏ
๙.   
               
๑๐.  น
   
๑๑.  บ
๑๒.  ป
๑๓.  พ
      
๑๔.  ฟ
   
๑๕.  ม
๑๖.  ย
   
๑๗.  ร
๑๘.  ล
   
๑๙.  ว
๒๐.  ฮ
ห  ฮ
๒๑.  อ
 มีพยัญชนะต้นมี  5 ตัว  ก,ค,ป,พ,และ ต เช่น กวาด ควาย ตลาด
- สระมี 32 เสียง 21 รูป 
         อะ อา อิ อี อึ อื อุ อู เอะ เอ แอะ แอ โอะ โอ เอาะ ออ เออะ เออ เอียะ เอีย เอือะ เอือ อัวะ อัว
       ฤ ฤา ฦ ฦา อำ ใอ ไอ เอา

-สระเกินมี 8 เสียง ได้แก่ -ำ,-ไ,-ใ,เ-า,ฤ,ฤา,ฦ,ฦา
-สระผสมมี 3 เสียง ไ้ด้แก่ เ-ียะ,เ-ือะ,-ัวะ

งานที่ 3 ความรู้ที่ไ่ด้รับจากชั่วโมงเรียน 18 มิ.ย. 56

ความรู้ที่ไ่ด้รับจากชั่วโมงเรียน

- ความหมายของชื่อแต่ละคน
- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาษาไทย ไม่ว่าจะเป็นคำที่มีหลายคำแต่ความหมายเหมือนกัน เช่น คชา กุญชร หัสดี แปลว่า ช้าง
- ความเป็นมาของภาษาไทย
พื้นฐานคนไทยอพยพมาจากเทือกเขาอัลไต เพราะถูกคนจีนลุกลาม คนไทยน้อยอพยพลงมาทางตอนล่างของลาว และได้ัตั้งเมืองแรก คือ เมืองสุโขทัย และได้รับวัฒนธรรมจนประดิษฐ์อักษร ในศิลาจารึกมี 10 กว่าตัวอักษร คนไทยจะใช้คำซ้ำ ๆ ต่อมาในสมัยอยุธยา (พระเจ้าอู่ท่อง) ได้รับวัฒนธรรมเขมร เริ่มมีการใช้คำราชาศัพท์ จากเขมร + บาลีสันกฤต ต่อมารัชกาลที่ 4 ได้เริ่มมีคำต่างประเทศเข้า มีอักษร "อริยะกะ" แต่ล้มเลิกไม่ได้ใช้ ภาษามาเปลี่ยนแปลงอีกครั้งในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ให้ตัดอักษรซ้ำ แต่ก็ต้องยกเลิก
*ขอมมาก่อนมอญ มอญชนอยู่ตอนเหนือซ้าย เมื่อก่อนพม่าคือมอญ
- รู้เกี่ยวกับความเป็นมาของสถานที่สำคัญในจังหวัดลพบุรี
  ศาลพระกาฬ เป็นที่พักรักษาคนป่วยเวลาเดินทาง
  เขาสมอคอน เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศ ได้สันนิษฐานกันง่า พ่อขุนรามคำแหง เคยมาเรียน
 
- จังหวัดลพบุรีซ้อนกัน 3 เมือง
- เมืองแรก สมัยขอม
- เมืองที่สอง  สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
- เมืองที่สาม สมัย จอมพล.ป พิบูลสงคราม
    มีวงเวียนใหญ่ 2 วงเวียน
1. วงเวียนเทพสตรี
2. วงเวียนวงเวียนศรีสุริโยทัย

งานที่ 2 ภาษาคืออะไร ???

   ภาษาคืออะไร ????

           ความหมายอย่างกว้าง หมายถึง กริยาอาการที่แสดงออกมาแล้วสามารถทำความเข้าใจกันได้ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ ส่วนภาษาในความหมายอย่างแคบนั้น หมายถึง เสียงพูดที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันเท่านั้นหรือสัญลักษณ์ ที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการสื่อความเข้าใจ ระหว่างกันของคนในสังคม   ช่วยสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน         ช่วยสร้างความสัมพันธ์ของคน ในสังคม  ถ้าคนในสังคมพูดกันด้วย ถ้อยคำที่ดีจะช่วยให้คนในสังคม อยู่กันอย่างปกติสุข  ถ้าพูดกันด้วยถ้อยคำไม่ดี   จะทำให้เกิดความบาดหมางน้ำใจกัน  ภาษาจึงมีส่วนช่วยสร้างมนุษยสัมพันธ์ ของคนในสังคม   ภาษาเป็นสมบัติของสังคม ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารมี      2  ประเภท  คือ  วัจนภาษาและอวัจนภาษา

            พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2542 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า ภาษา ไว้ว่า "ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษาราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม; เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยา อาการ ที่สื่อความได้


            คำว่า "ภาษา" ในภาษาไทยนั้น มาจากภาษาบาลี ภาสา และ ภาษาสันสกฤต ภาษา อย่างไรก็ตาม ในภาษากลุ่มไท-กะไดอื่นที่มีคำศัพท์บาลีและสันสกฤตน้อยกว่าภาษาไทยนั้น มักใช้คำที่มีรากศัพท์เดียวกับคำว่า "ความ" ในภาษาไทย เช่น ภาษาไทใหญ่ใช้ กว๊าม  "ภาษา, "คำ" และ กว๊ามล๊าว  "ภาษาลาว", ภาษาถิ่นพายัพใช้ กำ (คำ) "ภาษา, คำ" และ กำไท (คำไธ) "ภาษาไทย", ภาษาไทดำใช้ กว๊าม  "ภาษา, คำ" และ กว๊ามแกว "ภาษาเวียดนาม", และภาษาไทลื้อใช้ ก๊ำ "ภาษา, คำ" และ ก๊ำไถ่  "ภาษาไทย" เป็นต้น ดั่งนั้น หากคำว่า "ความ" ในภาษาไทยยังมีการใช้เหมือนภาษาตระกูลไท-ไตดั่งกล่าว "ความไทย" ควรแปลว่า "ภาษาไทย

ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารมี  2  ประเภท  คือ  วัจนภาษาและอวัจนภาษา
  1. วัจนภาษา (verbal language)

            วัจนภาษา  หมายถึง  ภาษาถ้อยคำ  ได้แก่  คำพูดหรือตัวอักษรที่กำหนดใช้ร่วมกันในสังคม  ซึ่งหมายรวมทั้งเสียง  และลายลักษณ์อักษร  ภาษาถ้อยคำเป็นภาษาที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างมีระบบ  มีหลักเกณฑ์ทางภาษา  หรือไวยากรณ์ซึ่งคนในสังคมต้องเรียนรู้และใช้ภาษาในการฟัง  พูด  อ่าน  เขียนและคิด การใช้วัจนภาษาในการสื่อสารต้องคำนึงถึงความชัดเจนถูกต้องตามหลักภาษา  และความเหมาะสมกับลักษณะ  การสื่อสาร  ลักษณะงาน  เป้าหมาย  สื่อและผู้รับสาร
วัจนภาษาแบ่งออกเป็น  2  ชนิด  คือ 
            1.  ภาษาพูด  ภาษาพูดเป็นภาษาที่มนุษย์เปล่งเสียงออกมาเป็นถ้อยคำเพื่อสื่อสารกับผู้อื่น  นักภาษาศาสตร์ถือว่าภาษาพูดเป็นภาษาที่แท้จริงของมนุษย์  ส่วนภาษาเขียนเป็นเพียงวิวัฒนาการขั้นหนึ่งของภาษาเท่านั้น  มนุษย์ได้ใช้ภาษาพูดติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นอยู่เสมอ  ทั้งในเรื่องส่วนตัว  สังคม  และหน้าที่การงาน  ภาษาพูดจึงสามารถสร้างความรัก  ความเข้าใจ  และช่วยแก้ไขปัญหา
ต่าง ๆ  ในสังคมมนุษย์ได้มากมาย
           2.  ภาษาเขียน  ภาษาเขียนเป็นภาษาที่มนุษย์ใช้อักษรเป็นเครื่องหมายแทนเสียงพูดในการสื่อ สาร  ภาษาเขียนเป็นสัญลักษณ์ของการพูด  ภาษาเขียนนั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อใช้บันทึกภาษาพูด  เป็นตัวแทนของภาษาพูดในโอกาสต่าง ๆ  แม้นักภาษาศาสตร์จะถือว่าภาษาเขียนมิใช่ภาษาที่แท้จริงของมนุษย์   แต่ภาษาเขียนเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารของมนุษย์  มาเป็นเวลาช้านาน  มนุษย์ใช้ภาษาเขียนสื่อสารทั้งในส่วนตัว  สังคม  และหน้าที่การงาน  ภาษาเขียนสร้างความรัก  ความเข้าใจ  และช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ  ในสังคมมนุษย์ได้มากมายหากมนุษย์รู้จักเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบุคคล  โอกาส  และสถานการณ์ 
2.อวัจนภาษา ( non-verbal  language)  
       
           อวัจนภาษา  หมายถึง  เป็นการสื่อสารโดยไม่ใช้ถ้อยคำ  ทั้งที่เป็นภาษาพูดและภาษาเขียน  เป็นภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อสารกัน โดยใช้อากัปกิริยา  ท่าทาง   น้ำเสียง   สายตาหรือ ใช้วัตถุ การใช้สัญญาณ และ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ  หรือแสดงออกทางด้านอื่นที่สามารถรับรู้กันได้  สามารถแปลความหมายได้และทำความเข้าใจต่อกันได้
การแสดงออกด้วยอวัจนภาษา
         อวัจนภาษาเป็นสัญลักษณ์ที่มีแหล่งแสดงออกด้วยอากัปกิริยา  หรือที่เกิดการแสดงออก ในหลายแหล่งด้วยกัน  ได้แก่
สัญลักษณ์ที่แสดงออกด้วยอากัปกิริยา  มีดังนี้
  1.1 เกิดขึ้นตามธรรมดาวิสัย  เช่น  การยิ้ม  การโบกมือ  การส่ายหน้า  การปัดเมื่อแมลง ไต่ตอม  เป็นต้น
  1.2  เกิดจากอารมณ์แรงเป็นเครื่องเร้า  เช่น  เวลาที่มีอารมณ์โกรธเลือดจะสูบฉีด จนหน้าแดง  มือเกร็ง  กำหมัด  เป็นต้น
  2. สัญลักษณ์แสดงออกที่ร่างกาย       
     เป็นการใช้วัตถุประกอบกับร่างกายแล้วบ่งบอกความหมาย  ได้โดยไม่ได้ แสดงกิริยาอาการ  เช่น  การแต่งกาย  เครื่องประดับ  ทรงผม  เป็นต้น  ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความหมายทั้งสิ้น
  3. สัญลักษณ์แสดงออกด้วยวัตถุที่แวดล้อม    
      เป็นสิ่งที่บุคคลให้ความหมายหรือตกลงให้ สิ่งนั้นมีความหมายหนึ่ง ๆ เช่น  ลักษณะและขนาดของบ้านเรือน  สามารถบอกรสนิยม  ฐานะ  หรือเชื้อชาติของเจ้าของบ้านได้  สัญลักษณ์บางอย่างต้องการให้รู้ทั่วกัน  เช่น  ลูกศรบอกทาง  สี  แสง  เสียง  เป็นต้น
  4. สัญลักษณ์แสดงออกด้วยพฤติกรรมแวดล้อม  ได้แก่     
      สิ่งแวดล้อมที่เป็นวัตถุ  หรือคนที่แวดล้อมที่แสดงพฤติกรรมต่าง ๆ  เกี่ยวข้องกับเรา  ทำให้เราต้องแสดงพฤติกรรม ตอบสนอง  เช่น  การปฏิบัติตามประเพณีต่าง ๆ  การชื่นชมศิลปกรรม  ซึ่งล้วนแล้วแต่สื่ออารมณ์และวัฒนธรรมได้
  

 ประเภทของอวัจนภาษา 

อวัจนภาษาที่ใช้สื่อสารโดยทั่วไปได้แก่
1. สายตา  (เนตรภาษา)  การแสดงออกทางสายตา เช่น  การสบตากันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารก็มีส่วนช่วยในการตีความหมาย  เช่น การสบตาแสดงออกถึงความจริงใจ  การรี่ตาแสดงออกถึงความสงสัย  ความไม่แน่ใจ  ฯลฯ     การแสดงออกทางสายตาจะต้องสอดคล้องกับการแสดงออกทางสีหน้า   การแสดงออกทางสีหน้าและสายตาจะช่วยเสริมวัจนภาษาให้มีน้ำหนักยิ่งขึ้น  และใช้แทนวัจนภาษาได้อย่างดี
2. กิริยาท่าทาง (อาการภาษา)  การแสดงกิริยาท่าทางของบุคคล  สามารถสื่อความหมายได้โดยไม่ต้องใช้คำพูด  หรือใช้เสริมคำพูดให้มีน้ำหนักมากขึ้นได้    ได้แก่  กิริยาท่าทาง   การเคลื่อนไหวร่างกายและอากัปกิริยาท่าทางต่าง ๆ   สามารถสื่อความหมายได้มากมาย  เช่น  การเคลื่อนไหวมือ  การโบกมือ   การส่ายหน้า   การพยักหน้า   การยกไหล่   การยิ้มประกอบ การพูด  การยักไหล่  การยักคิ้ว  อาการนิ่ง   ฯลฯ  
3. น้ำเสียง (ปริภาษา)   เป็นอวัจนภาษาที่แฝงอยู่ในภาษาพูด  ได้แก่   สำเนียงของผู้พูด ระดับเสียงสูงต่ำ  การเปล่งเสียง  จังหวะการพูด  ความดังความค่อยของเสียงพูด  การตะโกน  การกระซิบ  น้ำเสียงช่วยบอกอารมณ์และความรู้สึก  นอกจากนี้ยังช่วยแปลความหมายของคำพูด  เช่น  การใช้เสียงเน้นหนักเบา  การเว้นจังหวะ  การทอดเสียง  สิ่งเหล่านี้ทำให้คำพูดเด่นชัดขึ้น  การพูดเร็ว ๆ  รัว ๆ  การพูดที่หยุดเป็นช่วง ๆ  แสดงให้เห็นถึงอารมณ์กลัว  หรือตื่นเต้นของผู้พูด  เป็นต้น
4. สิ่งของหรือวัตถุ (วัตถุภาษา)   สิ่งของหรือวัตถุต่าง ๆ  ที่บุคคลเลือกใช้  เช่น   ของใช้เครื่องประดับ  เสื้อผ้า  กระเป๋า  รองเท้า  นาฬิกา   ปากกา  แว่นตา  เป็นต้น  สิ่งเหล่านี้เป็นอวัจนภาษาที่สื่อความหมายได้ทั้งสิ้น 
5. เนื้อที่หรือช่องว่าง  (เทศภาษา)  ช่องว่างของสถานที่หรือระยะใกล้ไกลที่บุคคลสื่อสารกัน   เป็นอวัจนภาษาที่สื่อสารให้เข้าใจได้  เช่น   ระยะห่างของหญิงชาย   พระกับสตรี   คนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์    คนสองคนนั่งชิดกันบนม้านั่งตัวเดียวกัน  ย่อมสื่อสารให้เข้าใจได้ว่า  ทั้งสองคนมีความสนิทสนมเป็นพิเศษ  เป็นต้น
6. กาลเวลา  (กาล ภาษา)  หมายถึง  การสื่อความหมายโดยให้เวลามีบทบาทสำคัญ  เวลาแต่ละช่วงมีความหมายในตัว  คนแต่ละคน  และคนต่างวัฒนธรรมจะมีความคิดและความหมายเกี่ยวกับเวลาแตกต่างกัน  เช่น  การตรงต่อเวลาวัฒนธรรมตะวันตกถือว่ามีความสำคัญมาก  การไม่ตรงต่อเวลานัดหมายเป็นการแสดงความดูถูก  เป็นต้น   
7. การสัมผัส (สัมผัสภาษา)  หมายถึง  อวัจนภาษาที่แสดงออกโดยการสัมผ้สเพื่อสื่อความรู้สึก  อารมณ์  ความปรารถนาในใจของผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร  เช่น  การจับมือ การ แลบลิ้น  การลูบศีรษะ การโอบกอด  การตบไหล่  ซึ่งสัมพันธ์กับวัฒนธรรมของแต่ละสังคม  เช่นคนไทยถือมิให้เด็กสัมผัสส่วนหัวของผู้ใหญ่  เป็นต้น

         ที่มา : http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter2-1.htm
       http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2

........................................................................................................

งานที่ 1 EDUCATION พร้อมแปลความหมาย



EDUCATION
Americans have long invested importance in education as a means of social improvement and individual fulfillment. Education has entailed both formal instruction in schools, universities, and other institutions, and informal learning in a variety of settings. Schools were respected institutions early in American history, and their significance has grown with time. Education and schooling have also been at the center of social and political conflict, often over issues of status and inequality. Schools eventually became instruments of government social policy, utilized to offset historic inequities and to help achieve social justice. Education also contributed human capital to the nation's economy.  At the same time, education has been a vital element of social and economic  Nationally, post-secondary education continued to expand. Overall enrollment climbed from about a quarter million in 1900 to more than a million in 1930, representing more than 10 percent of the age group. The number of female students grew even faster, from less than 40 percent of the student body in the 1890s to almost half by the twenties. Progressive educators represented the legacy of such well-known European   The growth of higher education also led to new types of institutions.  American education has changed a great deal since 1647, when Massachusetts passed its first school law. The reforms of the nineteenth and twentieth centuries helped to establish a comprehensive education system extending from the primary school to the university. The ferment of the postwar period , as ever more Americans attended some form of school. Much has been accomplished, .Many of the most  inequities  As a result of past struggles there is considerable parity in black and white education, despite persistent segregation and achievement gaps. Gender differences have diminished even more dramatically. As  still exhibit a firm commitment to education as a means of providing opportunity. That, more than anything else, is the principal legacy of American education, and its great hope for the future.

การศึกษา
ชาวอเมริกันมีการลงทุนความสำคัญในด้านการศึกษาเป็นวิธีการของการพัฒนาสังคมและความสำเร็จของแต่ละบุคคล การ ศึกษาได้มีการทั้งสองการเรียนการสอนอย่างเป็นทางการในโรงเรียน, มหาวิทยาลัยที่, และสถาบันอื่น ๆ และการเรียนรู้ไม่เป็นทางการในความหลากหลายของการตั้งค่า โรงเรียนเป็นสถาบันที่เคารพนับถือในช่วงต้นของประวัติศาสตร์อเมริกันและความสำคัญของพวกเขาได้เติบโตขึ้นกับเวลา การ ศึกษาและการเรียนการสอนก็ยังคงเป็นศูนย์กลางของความขัดแย้งทางสังคมและการ เมืองที่มักจะประเด็นเรื่องของ  สถ​​านะและความไม่เท่าเทียมกัน โรงเรียน ท้ายที่สุด  ก็กลายตราสารของนโยบายทางสังคมรัฐบาล เพื่อช่วยให้ให้บรรลุความยุติธรรมทางสังคม การศึกษาก็มีส่วนทุนมนุษย์ที่มีต่อเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะเดียวกันการศึกษาได้รับองค์ประกอบสำคัญของสังคมและเศรษฐกิจ   ประเทศชาติ  การศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่ยังคงขยายตัว การ ลงทะเบียนโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่เกี่ยวกับล้านบาทในปี 1900 ถึงกว่าล้านบาทในปี 1930 คิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 10 ของกลุ่มอายุ จำนวนนักเรียนหญิงเติบโตได้เร็วขึ้นจากน้อยกว่าร้อยละ 40 ของนักศึกษาในยุค 1890 ไปเกือบครึ่งศตวรรษที่ยี่สิบ การศึกษาก้าวหน้าเป็นตัวแทนของมรดกดังกล่าวที่รู้จักกันดีการเจริญเติบโตของยุโรปการศึกษาระดับสูงนำไปสู่​​รูปแบบใหม่ของสถ​​าบัน   อเมริกันศึกษามีการเปลี่ยนแปลงการจัดการที่ดีตั้งแต่ 1647 เมื่อซาชูเซตส์ผ่านกฎหมายโรงเรียนเป็นครั้งแรก การปฏิรูปในศตวรรษที่สิบเก้าและยี่สิบช่วยสร้างระบบการศึกษาที่ครอบคลุมยื่นออกมาจากโรงเรียนประถมศึกษาไปเรียนที่มหาวิทยาลัย หมักจากสมัยหลังสงครามในขณะที่ชาวอเมริกันมากกว่าที่เคยร่วมงานในรูปแบบของบางโรงเรียน มาก ได้รับการประสบความสำเร็จ. หลายของความไม่เสมอภาคมากที่สุดในฐานะที่เป็นผลมาจาก   การต่อสู้ที่ผ่านมามี ความเท่าเทียมกันมากในการศึกษาสีดำและสีขาวแม้จะมีช่องว่างที่แยกจากกัน อย่างไม่ลดละและความสำเร็จ เพศที่แตกต่างได้ลดลงอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ยังคงแสดงให้เห็นความมุ่งมั่น    ในการศึกษาเป็นวิธีการของการให้โอกาส ที่มากกว่าสิ่งอื่นใดเป็นมรดกที่สำคัญของการศึกษาอเมริกันและความหวังที่ดีสำหรับอนาคต
........................................................................................................